
” ถ้าลูกเอาหม้อมาเคาะเป็นกลอง หรือ เอาผ้ามาคลุมหัวแล้วบอกว่าเป็นซูเปอร์ฮีโร่ … นี่คือสัญญาณของ ‘ความคิดสร้างสรรค์ระดับอัจฉริยะ’ ที่พ่อแม่ต้องช่วยกันรักษาไว้ ! “
…………………………………

งานวิจัยชี้ว่าเด็กที่ความคิดสร้างสรรค์สูง จะเป็นนักแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่ดีเมื่อโตขึ้น แถมยังจัดการอารมณ์ได้ดี เอาตัวรอดได้เก่ง และไม่เครียดง่าย!
Angus Fletcher ผู้เชี่ยวชาญด้านการเล่าเรื่องจาก Ohio State University กล่าวว่า
“ยิ่งเด็กเชื่อในพลังความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง พวกเขาจะยิ่งมั่นใจว่าทุกปัญหามีทางแก้ เพราะสมองของเขาถูกฝึกมาให้มองหาคำตอบใหม่ๆ อยู่เสมอ”


1. พัฒนาการสมอง: สมองเด็กวัย 3 ขวบทำงานหนักกว่าผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า! แต่เมื่อโตขึ้น สมองจะตัดวงจรประสาทที่ไม่ใช้ทิ้ง ทำให้สมองมีประสิทธิภาพแต่ยืดหยุ่นน้อยลง
2. ระบบการศึกษา: การเรียนแบบท่องจำและการทดสอบมาตรฐานสอนให้เด็กเชื่อว่า “มีแค่คำตอบถูกและผิด”ซึ่งทำลายความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องอาศัยการคิดนอกกรอบ
3. ทักษะครีเอทีฟของเด็ก + วิธีส่งเสริมให้อยู่ติดตัวไปจนโต

เด็กครีเอทีฟจะเล่นคนเดียวหรือกับเพื่อนได้เป็นชั่วโมง ไม่ว่าจะต่อบล็อก ปั้นดิน หรือปีนต้นไม้

ให้พื้นที่เล่นอิสระ แม้จะเป็นมุมเล็กๆ ในบ้าน
กล่องกระดาษ หมวกเก่า เสื้อผ้ามือสอง ตุ๊กตาผ้า หรือบล็อกไม้ คือของเล่นที่กระตุ้นไอเดีย
Nancy Carlsson-Paige ผู้เขียนหนังสือ Taking Back Childhood แนะนำว่า “การเล่นช่วยให้เด็กประมวลผลความรู้สึกซับซ้อน เช่น ความเครียดหรือความขัดแย้ง ให้ลองปล่อยให้เขาเล่นเองโดยไม่เข้าไปกำหนดกฎ”

เด็กๆ มักสร้างโลกสมมติได้น่าทึ่ง เช่น ตำนานพ่อมด หรือหมีที่เต้นรำได้ ซึ่งเป็นพื้นฐานของนวัตกรรมในวัยผู้ใหญ่

ถามคำถามปลายเปิด เช่น “ถ้าฝนตกจากพื้นดินขึ้นฟ้า โลกจะเปลี่ยนไปยังไง?”
ให้คิดค้นของขวัญจากของในสวน เช่น “เครื่องย้อนเวลา” หรือออกแบบชุดจากวัสดุในครัว

ถามเด็กว่า “ถ้วยเอาไปทำอะไรได้บ้าง?” คำตอบเขาอาจทำให้เราอึ้ง

ให้เปลี่ยนมุมมอง เช่น “เดินจากห้องนั่งเล่นไปครัวโดยไม่ให้เท้าแตะพื้น” หรือ “จินตนาการว่าตัวเองเป็นตัวร้ายในเรื่อง…”
.
Catherine Thimmesh ผู้เขียน Girls Solve Everything บอกว่า “ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการเชื่อมโยงสิ่งที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันให้กลายเป็นไอเดียใหม่”

“เด็กเล็กยังไม่ถูกขัดขวางโดยโลกภายนอก” Rebecca Isbell กล่าว “พวกเขาสงสัยทุกอย่าง อยากรู้ว่าสิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไร” ปัญหาคือ กฎของสังคม ทำให้เด็กกลัวความล้มเหลว และไม่อยากรู้อีกต่อไป

สนใจสิ่งที่ลูกสนใจ: แม้ลูกจะมองก้อนหินข้างทางแทนช้างในสวนสัตว์ ก็ถามเขาว่า “เห็นอะไรบ้าง?”
สอนให้ยอมรับความผิดพลาด: ให้ลูกเป็น “ครู” สอนคุณทำอะไรสักอย่าง แล้วคุณลองทำผิดดู Catherine Thimmesh แนะว่า “เด็กจะรู้สึกเป็นเจ้านาย และเห็นว่าผู้ใหญ่ก็เรียนรู้จากผิดพลาดได้”
ใช้เทคนิค “ใช่เลย …แล้วยัง … ”: รับฟังไอเดียลูกโดยไม่ตัดสิน แล้วต่อยอด เช่น ลูกบอก “หนูอยากสร้างบ้านบนต้นไม้” คุณตอบ “เยี่ยม! แล้วจะทำยังไงให้บ้านลอยได้ด้วยนะ ?”
